About

About
woywhyweb

slider

Recent

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

คลังบทความของบล็อก

Navigation
Recent News

ศาลปกครองกลางชี้ เจ้าหน้าที่อุทยานเผาทำลายบ้าน-ยุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยเป็นการกระทำถูกกฎหมาย


ศาลปกครองกลางชี้ เจ้าหน้าที่อุทยานเผาทำลายบ้าน-ยุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยเป็นการกระทำถูกกฎหมาย

ศาลปกครองกลางอ่านคำตัดสินคดีที่นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับชาวกะเหรี่ยงอีก 6 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 จากกรณีที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาทำลายบ้านและยุ้งข้าว รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ โดยศาลชี้ว่าเจ้าหน้าที่กระทำถูกตามกฎหมายแล้ว เนื่องจากผู้ฟ้องทั้งหมดไม่ใช่ชุมชนดั้งเดิม ไม่มีสิทธิในที่ทำกินซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าการทำลายข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านให้เสียหายเป็นการกระทำที่ไม่สมควร สั่งให้ผู้ถูกฟ้องชดใช้ชาวบ้านคนละ 10,000 บาท

คดีนี้ นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งปีนี้มีอายุ 105 ปี เป็นผู้ฟ้องร่วมกับพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ในฐานะหน่วยงานซึ่งกำกับดูแลอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะเหตุที่นายชัยวัฒน์ นำกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของนายโคอิ หรือคออี้ มีมิ และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบริเวณตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กว่า 20 ครอบครัว โดยมีการเผาทรัพย์สิน บ้านพักอาศัย และยุ้งฉาง ถูกจุดไฟเผาราว 100 หลังตามโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดันหรือจับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ที่มีชื่อเรียกว่า “ยุทธการตะนาวศรี” และกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน เป็นชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยไม่ได้มีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติและกฎหมายทะเบียนราษฎรของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน รวมถึงไม่ตรวจสอบพื้นที่ทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนดั้งเดิมเสียก่อน

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนาซึ่งเข้าร่วมฟังคำตัดสินวันนี้ระบุว่า เท่าที่ทางศูนย์ฯ มีข้อมูลนั้น ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่บ้านบางกลอยบนและประชากรทั้งหมดมีบัตรประชาชน มีบ้านเลขที่ชัดเจน มาก่อนปี 2528 แต่หลังจากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ขอให้อพยพมาตั้งรกรากในบ้านบางกลอยล่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด และยังมีเวลาในการอุทธรณ์ 1 เดือน ซึ่งเห็นว่าประเด็นความเป็นชุมชนดั้งเดิมนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจจะต้องต่อสู้ต่อไป

ขณะเดียวกัน นายสุรพงษ์ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของอุทยานจะมีมาตรการเจรจากับชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอุทยาน เช่น ติดป้ายเตือนก่อน แต่คดีนี้เป็นคดีแรกที่มีการเผาบ้านชาวบ้าน ซึ่งถ้ายึดตามคำพิพากษานี้ ก็จะมีอีกหลายชุมชนที่อาจจะกลายเป็นชุมชนผิดกฎหมายและเจ้าหน้าที่สามารถเผาบ้านชาวบ้านได้ อย่างไรก็ตาม นายสุรพงษ์เห็นว่าคำพิพากษามีแนวทางที่น่าสนใจคือ การชี้ว่ากรณีที่เจ้าหน้าที่เผาสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวเป็นการกระทำที่ไม่สมควรและสั่งให้ชดใช้ ซึ่งหากยึดแนวคำพิพากษานี้ ชาวบ้านที่เสียหายยังสามารถเอาผิดเจ้าหน้าที่ฐานละเมิดทางแพ่ง ทำให้เสียทรัพย์ และความผิดอาญา ฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ด้วย

ภาพ นายคออี้ เดินทางมาศาลด้วยตัวเองเช้านี้

Share
Banner

Post A Comment:

0 comments: