About

About
woywhyweb

slider

Recent

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

คลังบทความของบล็อก

Navigation

กูเกิ้ลภาครัฐ: ความพยายามของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

บีบีซีไทย - BBC Thai

กูเกิ้ลภาครัฐ: ความพยายามของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

รู้หรือไม่ไทยใช้งบไปแล้ว 300 กว่าล้านในการจัดการผักตบชวา
รู้หรือไม่ ไทยมีโครงการเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดหรือ CCTV กว่า 100 โครงการ รวมมูลค่า 115 ล้านบาท
รู้หรือไม่ หน่วยงานรัฐมีคู่มือประชาชนในการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ของรัฐกว่า 700,000 ฐานข้อมูล

อาจจะมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของภาครัฐไทย และนี่คือโจทย์ใหญ่ของหน่วยงานที่เรียกว่าสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.)หรือ EGA ที่บีบีซีไทยได้รับฟังจาก ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสรอ. ซึ่งบอกว่าความมุ่งหวังจากนี้ คือ การเปิดเผยข้อมูลของรัฐผ่านระบบสืบค้นเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนควรจะง่ายต่อการเข้าถึง ไม่รุงรัง ไม่เยอะจนใช้ประโยชน์ไม่ได้ และควรจะทำให้ประชาชนรู้สึกใช้ได้จริง เหมือนกำลังใช้บริการกูเกิ้ลภาครัฐ และที่สำคัญคือ เมื่อระบบข้อมูลมีความโปร่งใส่ เข้าถึงง่าย ประชาชนจะสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ง่ายขึ้น แต่ความท้ามายขณะนี้ก็คือ ข้อมูลของภาครัฐนั้นมีมากล้น และยังกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ

“สรอ. กำลังพยายามทำให้บริการของภาครัฐทำอะไรให้ง่ายสำหรับประชาชน ขณะที่ประขาชนซื้อของออนไลน์กันแล้ว แต่ภาครัฐยังทำข้อมูลที่เข้าถึงประชาชนยากอยู่” ดร. ศักดิ์ กล่าวและว่าปัญหาที่ท้าทายก็คือทัศนคติและระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ

“สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือทัศนคติของภาครัฐ สอง คือกฎระเบียบต่างๆ สาม คือเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน” ดร. ศักดิ์ ระบุถึงความท้าทาย โดยอธิบายต่อไปว่าขณะนี้ กฎหมายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ระหว่างการร่างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ภาครัฐต้องเลิกขอข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองเสียที แต่ควรจะเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ร่วมกัน และต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการเชื่อมโยง ทั้งภาครัฐและเอกชน

“ถ้าโครงสร้างพื้นฐานโอเค ต้องมีความเสถียร มั่นคง มีความปลอดภัย เช้าดี-บ่ายเสียไม่ได้ รัฐจะบอกให้ประชาชนไม่ต้องใช้สำเนากระดาษใช้บัตรประชาชนอีกต่อไป แต่ถ้าระบบยังล่ม ก็เป็นไปไม่ได้”

ดร.ศักดิ์ ระบุว่า ขณะนี้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่อยู่ราวๆ 200 คน กำลังทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ผ่านแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์หลัก ทำให้ข้อมูลภาครัฐไม่กระจัดกระจาย และสืบค้นได้โดยง่าย แต่งานที่หนักก็คือ ข้อมูลนั้นมีอยู่มหาศาล ต้องจัดลำดับความสำคัญก่อน โดยปรับโฟกัสไปที่การบริการประชาชนก่อน เช่น กระทรวงมหาดไทย สาธารณสุข เกษตร และแรงงาน และจะต้องตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐ และภาครัฐเองต้องปรับทัศนติให้คนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานด้านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เอาคนที่มีงานน้อยที่สุดแต่ไม่เข้าใจอะไรเลยในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล (open data) และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้อำนวยการ สรอ. ชี้ว่า ภายใน 1 ปีข้างหน้า จะมีการประชาพิจารณ์ 5 ประเด็นหลักที่ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลและกำหนดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและเปิดเผยข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนได้แก่ ประเด็นคอร์รัปชั่น ภัยพิบัติ เกษตร เมืองและการขนส่ง และสุขภาพ

ดร. ศักดิ์ระบุว่า นอกเหนือจากการทำฐานข้อมูล และจัดทำเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ แล้ว สรอ. กำลังพัฒนาระบบสำหรับการสนทนา ที่เรียกว่า G Chat เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานราชการที่มีบุคลากรเป็นหลักล้าน ซึ่งแม้จะมีโซเชียลมีเดียให้บริการอยู่แล้ว อย่างยูทูป เฟซบุ๊ก ไลน์ แต่ทั้งหมดล้วนไม่มีฐานอยู่ในประเทศ หากวันใดออปติกไฟเบอร์ที่เชื่อมต่อกับโลกภายนอกขาดก็อาจจะลำบากในการสื่อสาร

บีบีซีไทยสอบถามว่า ที่ผ่านมา ข้อมูลภาครัฐกระจัดกระจายอยู่นั้นอาจจะเป็นปัญหาหนึ่ง แต่อีกปัญหาที่ประชาชนสนใจมากๆ ก็คือความปลอดภัยของข้อมูล ยิ่งรัฐเก็บข้อมูลประชาชนไว้มาก โอกาสรั่วไหลและส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของประชาชนก็มากตามไปด้วย เรื่องนี้ ดร.ศักดิ์ ระบุว่าหากกฎหมายสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านออกมา หน้าที่ที่ชัดเจนของ สรอ. อีกประการก็คือการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของหน่วยงานภาครัฐด้วย และหลักการของการเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่การเปิดข้อมูลส่วนบุคคล แต่เป็นการเปิดข้อมูลภาครัฐ

“โอเพ่นดาต้าที่เปิดนั้น จะไม่เปิดข้อมูลความมั่นคงและส่วนบุคคล แต่หน่วยงานภาครัฐเองจะมีความเสี่ยง.......รัฐอาจจะตีความว่ามีสิทธิในการเก็บข้อมูลเรื่องต่างๆ แต่เมื่อเกิดความเสียหายที่ภาครัฐ ภาครัฐจะกลัวเรื่องนี้มาก ถ้าถามว่าเป็นไปได้ไหมที่ฐานข้อมูลภาครัฐจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ก็เคยมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่บางหน่วยงานก็เริ่มมีกฎเช่น มหาดไทย ก็ออกกฎว่าฐานข้อมูลเขาทุกครั้งที่จะเอาข้อมูล ข้าราชการต้องเอาบัตรประชาชนของตัวเองใช้เป็นหลักฐาน เรา (สรอ.) ก็อยากเปิดว่าข้อมูลของประชาชนตลอดทั้งปีมีใครมาดูบ้าง ดูกี่ครั้ง แน่นอนว่ารัฐมีอำนาจดูได้จริงแต่ต้องตอบได้ว่าดูทำไม” ผู้อำนวยการ สรอ.กล่าว
Share
Banner

Post A Comment:

0 comments: